ทะเบียนสัตว์พาหนะ


ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

1. การจัดทำบัญชีสัตว์พาหนะที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ

ขั้นที่ 1 จัดทำบัญชีสัตว์พาหนะที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณให้ครบทุกหมู่บ้าน โดยใช้แบบ ส.พ.19 แยกบัญชีเป็นรายหมู่บ้านและรายเจ้าของ สัตว์ จัดทำ 3 ชุด ต่อเจ้าของสัตว์ 1 ราย แล้วมอบให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและนายทะเบียน
*ระเบียบกฎหมาย หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0402/ว 603 ลงวันที่ 15 เมษายน 2543 ผู้รับผิดชอบ ปลัดอำเภอร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่
ขั้นที่ 2 ในคราวประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน .และนายทะเบียน นำ ส.พ. 19 มาตรวจเปลี่ยนแปลงรายการให้ตรงกัน
*ระเบียบกฎหมาย หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0402/ว 603 ลงวันที่ 15 เมษายน 2543 ผู้รับผิดชอบ นายทะเบียน กำนันและผู้ใหญ่บ้าน

2. การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะ

ขั้นที่ 1 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ให้นายทะเบียนประกาศเป็น
รายตำบล กำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ให้เจ้าของหรือตัวแทนนำสัตว์พาหนะ
ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ไปจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ ณ ที่ว่าการ อำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือตำบลที่เห็นว่าเป็นการสะดวกแก่เจ้าของสัตว์ ในการนำสัตว์ไปจดทะเบียน
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 8 และ
*ระเบียบการสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482 ข้อ 2
*ผู้รับผิดชอบ นายทะเบียน

ขั้นที่ 2 รับเรื่องกรณีเจ้าของสัตว์หรือตัวแทน พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านหรือ พยานนำสัตว์มาขอจดทะเบียน
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 8
*ระเบียบการสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482 ข้อ 2
*ผู้รับผิดชอบ นายทะเบียน

ขั้นที่ 3 นายทะเบียนพร้อมด้วยเจ้าของสัตว์หรือตัวแทน และผู้ใหญ่บ้าน หรือพยาน ตรวจสอบตำหนิรูปพรรณและหลักฐาน ส.พ.19 เห็นเป็นการถูกต้อง หรือสอบสวนให้เห็นความบริสุทธิ์เมื่อได้รับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณให้โดยใช้แบบ ส.พ.5 ,6,7 หรือ 8 แล้ว แต่ประเภทสัตว์ ถ้าเป็นล่อ ลา ให้ใช้ ส.พ.6 โดยหมายเหตุชนิด ของสัตว์ที่ใช้แทนไว้ในภาพด้วยหมึกสีแดง
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 8
*ระเบียบการสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482 ข้อ 2
*ผู้รับผิดชอบ นายทะเบียน

3. การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนองสัตว์พาหนะ

3.1 การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยนหรือให้สัตว์พาหนะ

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีผู้โอนและผู้รับโอนทั้งสองฝ่ายหรือตัวแทนนำสัตว์ พาหนะและตั๋วรูปพรรณมาแจ้งนายทะเบียน
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 14
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนตรวจสอบตำหนิรูปพรรณถูกต้องตรงกับตัวสัตว์ เมื่อได้รับชำระค่าธรรมเนียมแล้วจึงจดทะเบียนโดยสลักหลังทะเบียนและ ตั๋วรูปพรรณบันทึกข้อความแห่งนิติกรรมตามที่คู่กรณีประสงค์ให้ จดทะเบียนแล้วมอบตั๋วรูปพรรณให้ผู้รับโอนไป
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 14
*ผู้รับผิดชอบ " นายทะเบียน"

3.2 การรับมรดกสัตว์พาหนะ

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีผู้รับสัตว์พาหนะเป็นมรดกหรือตัวแทน นำพยาน พร้อมด้วยตั๋วรูปพรรณแจ้งนายทะเบียน
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 15
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนสอบสวนและประกาศมรดกมีกำหนด 30 วัน ปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ และตำบลซึ่งเป็นภูมิลำเนา ของผู้รับมรดกและเจ้าของสัตว์ ถ้าไม่มีผู้คัดค้านในเวลาที่กำหนด การรับมรดก โดยแก้ทะเบียนและตั๋วรูปพรรณให้แก่ผู้รับมรดก ถ้ามีผู้คัดค้านภายในกำหนด ให้นายทะเบียนสั่งผู้ที่เห็นว่าไม่มี สิทธิดีไปกว่าไปฟ้องศาลภายหลังในกำหนดไม่เกิน 60 วัน ถ้าไม่ฟ้อง ภายในกำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม แล้วบันทึกข้อความ แห่งนิติกรรมเกี่ยวกับการรับมรดกโดยแก้ทะเบียนและตั๋วรูปพรรณให้แก่ผู้ควรรับมรดก
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 5
*ผู้รับผิดชอบ " นายทะเบียน"

3.3 การจำนองสัตว์พาหนะ

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีผู้จำนองและผู้รับจำนองทั้งสองฝ่าย หรือตัวแทนมาแจ้งนายทะเบียน
*ระเบียบกฎหมาย "พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 16"
*ผู้รับผิดชอบ " นายทะเบียน"
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนตรวจสอบเห็นเป็นการถูกต้องเมื่อได้รับชำระค่า ธรรมเนียมแล้วจึงจดทะเบียนโดยสลักหลังการทำนิติกรรมจำนอง ที่ทะเบียนและตั๋วรูปพรรณให้ไป
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 16
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"

4. การย้ายสัตว์พาหนะและจำหน่ายทะเบียน

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีเจ้าของสัตว์หรือตัวแทนนำตั๋วรูปพรรณมาแจ้งนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ย้าย
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 17
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
<ขั้นที่ 2 นายทะเบียนตรวจสอบเห็นเป็นการถูกต้องให้เรียกเก็บค่า ธรรมเนียมแล้วรับสัตว์ขึ้นทะเบียน โดยใช้แบบ สพ.14,15,16,17 แล้วแต่ประเภทสัตว์ พร้อมกับบันทึกที่ตั๋วรูปพรรณ ว่าย้ายมาจากอำเภอหรือกิ่งอำเภอในแล้วมอบตั๋วรูปพรรณให้ไป
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 17
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
ขั้นที่ 3 ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่ที่รับสัตว์ขึ้นทะเบียนแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยัง นายทะเบียนท้องที่เดิมเพื่อจำหน่ายสัตว์ออกจากทะเบียน โดยใช้แบบ ส.พ.20 เมื่อนายทะเบียนท้องที่เดิมจำหน่ายสัตว์แล้วให้แจ้งนายทะเบียน ท้องที่ใหม่ทราบด้วยโดยใช้แบบ ส.พ.21
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 17
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"

5. ตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะชำรุด

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณคตั๋วรูปพรรณชำรุดพร้อมตั๋วรูปพรรณที่ชำรุด
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 10
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนถูกต้อง แล้วเรียก เก็บค่าธรรมเนียมและ ออกใบแทนตั๋วรูปพรรณให้ โดยใช้แบบ ส.พ.10, 11, 12, หรือ 13 แล้วแต่ประเภทสัตว์
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 10
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"

6. ตั๋วรูปพรรณพาหนะสูญหาย

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีตั๋วารูปพรรณสูญหาย พร้อมหลักฐานการแจ้งความ
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ. สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 10
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนถูกต้องและสอบสวน ให้เห็นความบริสุทธิ์ แล้วเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและออกใบแทน ตั๋วรูปพรรณให้ โดยใช้แบบ ส.พ.10, 11, 12, หรือ 13 แล้วแต่ประเภทสัตว์ ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2485 มาตรา 10
ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"

7. การแก้ไขตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ คลาดเคลื่อนจากตั๋วรูปพรรณ

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีแก้ไขตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะคลาดเคลื่อนจากตั๋วรูปพรรณ
*ระเบียบกฎหมาย สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 13 ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนตรวจแก้ตำหนิรูปพรรณสัตว์ในทะเบียน และตั๋วรูปพรรณ ให้ตรงกับสัตว์ ในกรณีที่เกี่ยวกับขวัญสัตว์คลาดเคลื่อนตำหนิซึ่งเกิดขึ้น โดยการกระทำของเจ้าพนักงาน หรือเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ของสัตว์ หรือการที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ให้ยกเว้นค่ธรรมเนียม
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ. สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 13
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"

8. การนำสัตว์พาหนะออกนอกราชอาณาจักรและจำหน่ายทะเบียน

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีนำสัตว์พาหนะออกนอกราชอาณาจักร
*ระเบียบกฎหมาย "พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 19"
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนตรวจสอบตัวสัตว์ และตั๋วรูปพรรณถูกต้องให้ตรวจ แก้จำหน่ายออกจากทะเบียนและสลักหลังตั๋วรูปพรรณว่าจำหน่าย ออกนอกราชอาณาจักร หากสัตว์พาหนะดังกล่าวกลับเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเรื่องการย้ายสัตว์พาหนะโดยอนุโลม
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 19
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"

9. การนำสัตว์พาหนะจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร

ขั้นที่ 1 รับเรื่องกรณีนำสัตว์พาหนะจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 9
*ผู้รับผิดชอบ นายทะเบียน
ขั้นที่ 2 นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามความในมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.สัตว์พาาหนะพุทธศักราช2482 โดยอนุโลมเว้นแต่นำเข้ามาชั่วคราว ไม่ต้องจดทะเบียนทำตัวรูปพรรณ
*ระเบียบกฎหมาย พ.ร.บ.สัตว์พาหนะพุทธศักราช 2482 มาตรา 8
*ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"