ทะเบียนศาลเจ้า


ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐ หรือที่ดินซึ่งเอกชนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของศาลเจ้า ศาลเจ้านั้นจะอยู่ในการกำกับ ดูแลโดยราชการ และมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้า และผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากราชการ เป็นผู้บริหารกิจการศาลเจ้า

หลักเกณฑ์

การอุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า เมื่อมีผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตน ซึ่งมีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้ว หรือ ที่ดินแห่งอื่นให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
* 1. ผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตนให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้าให้ยื่นเรื่องราวแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์ อักษรต่อปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วย

หลักฐานดังต่อไปนี้

1.1 คำร้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้อุทิศที่ดิน
1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
1.3 บัตรประจำตัวประชาชน
1.4 รายละเอียดที่ดินซึ่งจะอุทิศให้พร้อมโฉนดที่ดิน หรือหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน

* 2. จังหวัด อำเภอ สำนักงานเขต ปฏิบัติดังนี้

2.1 รับเรื่องราวของผู้ประสงค์อุทิศที่ดิน
2.2 ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสารทั้งหมด
2.3 สอบสวนผู้ประสงค์อุทิศที่ดินตามแบบปค.14 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะอุทิศให้และเจตนารมย์ ของผู้อุทิศให้
2.4 เมื่อเห็นว่าถูกต้องรวบรวมหลักฐานและเอกสารทั้งหมด พร้อมทั้งเสนอความเห็นไปจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุมัติและรับมอบที่ดิน
2.5 แจ้งผู้มอบที่ดินทราบเมื่อจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุมัติและรับมอบการอุทิศที่ดินนั้นแล้ว โดยให้ ออกโฉนดที่ดินไว้ในนาม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ศาลเจ้า .................





ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน


การเก็บ ฝัง หรือเผาศพ กฎหมายบัญญัติให้ดำเนินการในสถานที่ ซึ่ง ได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นสุสาน และ ฌาปนสถานสาธารณะ หรือสุสานและฌาปนสถานเอกชน

หลักเกณฑ์

ผู้ขออนุญาตจัดตั้งหรือดำเนินการสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ หรือสุสานและฌาปนสถานเอกชน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
2. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
3. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนคนไร้ความสามารถ
5. ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลเป็นผู้ขอรับ ใบอนุญาตผู้แทนของนิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติข้างต้นด้วย

สถานที่ยื่นคำร้อง

การดำเนินการเกี่ยวกับสุสานและฌาปนสถานให้ยื่นคำร้องขอจัดตั้งและ ดำเนินการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ ที่จะจัดตั้ง สุสานและ
ฌาปนสถาน ดังนี้
1. ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อผู้อำนวยการเขต ณ สำนักงานเขต
2. ในเขตเทศบาล ให้ยื่นต่อนายกเทศมนตรี ณ สำนักงานเทศบาล
3. ในเขตเมืองพัทยา ให้ยื่นต่อปลัดเมืองพัทยา ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
4. นอกเขตตามข้อ 1- 3 ให้ยื่นต่อปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด

เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นเรื่อง

1. ภาพถ่าย บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
2. สำเนา หรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
3. หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิ์ครอบครองที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งสุสานฯ
4. แผนที่แสดงเขตที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งสุสาน รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง
5. แผนผังแสดงการใช้ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างในกิจการของสุสานฯ
* สำหรับนิติบุคคลต้องยื่นเอกสารประกอบด้วย ดังนี้
1. หลักฐานแสดงการเป็นนิติบุคคล และวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
2. หลักฐานแสดงว่า ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลผู้ขอรับใบอนุญาต