การดำเนินงาน

        ระยะแรก (ปี 2526 – 2531)

                     สำนักทะเบียนกลางได้ทำการคัดลอกทะเบียนบ้านฉบับ ปี พ.ศ. 2515 เมื่อปี 2526 โดยมีการให้รหัสประจำบ้านทุกหลังเป็นเลข 11 หลัก และให้เลขประจำตัวประชาชนแก่คนทุกคนที่มีชื่อยู่ในทะะบียนบ้านเป็นเลข 13 หลัก ซึ่งแต่ละหลักมีความหมายเฉพาะของตัวเอง ดังนี้

ป - จจออ - มมมมม –ลล – ต

เลขประจำตัวประชาชน มี 13 หลัก แบ่งออกเป็น 5 ส่วน

ส่วนที่ 1 มี 1 หลัก หมายถึง ประเภทบุคคลซึ่งมี 8 ประเภท

ส่วนที่ 2 มี 4 หลัก หมายถึง สำนักทะเบียนที่ออกเลขประจำตัวให้กับประชาชน

ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 รวมกันมี 7 หลัก หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละประเภท ของแต่ละสำนักทะเบียน

ส่วนที่ 5 มี 1 หลัก หมายถึง เลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนทั้งหมด

             การให้เลขประจำตัวประชาชน และคัดลอกทะเบียนบ้าน ฉบับปี 2526 แล้วเสร็จ เมื่อ ปี 2528 และเริ่มดำเนินการบันทึกข้อมูล และจัดสร้างเป็นฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรจนครบบ้านทุกหลังเมื่อปี 253 ต่อจากนั้น จึงเริ่มสร้างฐานข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน ฐานข้อมูลชื่อบุคคล ฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัว ซึ่งประกอบไปด้วยทะเบียนสมรส และทะเบียนหย่า ฐานข้อมูลทะเบียนอาวุธปืนและฐานข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมารวมกันเป็น “ฐานข้อมูลทะเบียนกลาง พร้อมกับเปิดให้บริการประชาชน ณ สำนักทะเบียนกลางเกี่ยวกับการตรวจสอบคัดและรับรองรายการทะเบียนประวัติราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์


          ความเป็นมา   ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ   รางวัลที่กรมการปกครองได้รับ   รูปแบบของการให้บริการ E-Registration