ระยะที่สอง (ปี พ.ศ.2536 – 2539)

             เป็นการขยายการใช้ประโยชน์ จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง โดยได้จัดทำระบบเชื่อมโยง ข้อมูลการทะเบียนจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง ไปยังสำนักทะเบียนอำเภอและท้องถิ่นเพื่อให้บริการด้าน การทะเบียนราษฎร ซึ่งกรมการปกครองได้กำหนดให้สำนักทะเบียนท้องถิ่นเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เป็นสำนักทะเบียนนำร่อง เพื่อทดสอบระบบการเชื่อมโยงข้อมูล (On – Line) กับฐานข้อมูลทะเบียนกลาง เพื่อให้บริการประชาชน พร้อมทั้ง ได้จัดทำระบบการจัดเก็บภาพถ่ายใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวาของ ผู้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไว้ในฐานข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบและพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลผู้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชน

           ปี พ.ศ. 2539 กรมการปกครอง ได้เริ่มทดลองขยายการให้บริการประชาชนด้านทะเบียนราษฎร และบัตรประจำตัวประชาชน ไปยังสำนักทะเบียนอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และได้เริ่มออกบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่คล้ายบัตร ATM เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539 และเมื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงขยายการทำบัตรฯ แบบใหม่ไปยังสำนัก ทะเบียนท้องถิ่นเขตต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครครบทุกเขต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา

หมายเหตุ ทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง

1. ทะเบียนราษฎร

2. ทะเบียนบัตรปร จำตัวประชาชน

3. ทะเบียนครอบครัว

3. ทะเบียนครอบครัว

5. ทะเบียนชื่อบุคคล

6. ทะเบียนอาวุธปืน

7. ทะเบียนสัตว์พาหนะ

8. ทะเบียนนิติกรรม

9. ทะเบียนมูลนิธิ

10. ทะเบียนศาลเจ้า

11. ทะเบียนเกาะ

12. ทะเบียนสมาคม

13. ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

14. ทะเบียนการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

 



          ความเป็นมา   ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ   รางวัลที่กรมการปกครองได้รับ   รูปแบบของการให้บริการ E-Registration   การดำเนินงาน