ประเภทของการให้บริการ E-Registration

            การให้บริการระบบทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของ กรมการปกครอง (ศูนย์ประมวลการทะเบียน) ปัจจุบันมีการกำหนดลักษณะ ของการให้บริการตามสถานที่ของการให้บริการดังนี้ คือ

1. การให้บริการ ณ สำนักทะเบียนกลาง (ตั้งอยู่ที่สำนักบริหารการทะเบียน วังไชยาถนนนครสวรรค์ นางเลิ้ง ดุสิต กทม.10300) ระหว่างเวลา 08:30 – 16:30 น. ด้วยบริการต่าง ๆ คือ

      1. บริการตรวจสอบ และรับรองรายการทางทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชนทะเบียนชื่อสกุล ทะเบียนสมรส-หย่า ทะเบียนอาวุธปืน และระบบสถิติทางด้านการทะเบียน ณ หน่วยบริการข้อมูล อาคารสำนักบริหารการทะเบียน
      2. บริการถามตอบปัญหาทางทะเบียนผ่านระบบโทรศัพท์ทางหมายเลข 1548
      3. บริการให้ความรู้ทางด้านการจัดทำระบบทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการนำชมกระบวนการ และวิธีการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งการให้การสาธิตต่อหน่วยงาน / สถาบันการศึกษาที่สนใจ

    2. การให้บริการ ณ สำนักทะเบียนจังหวัด (ตั้งอยู่บนอาคารศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด ณ ที่ทำการปกครองจังหวัด) ในเวลาราชการ

                      2.1 บริการตรวจสอบ และรับรองรายการทางทะเบียนราษฎร

                      2.2 บริการตรวจสอบ และรับรองรายการบัตรประจำตัวประชาชน

                      2.3 บริการตรวจสอบ และรับรองรายการทะเบียนทั่วไป (ทะเบียนชื่อสกุล ทะเบียนสมรส –หย่าและทะเบียนอาวุธปืน)

    3. การให้บริการ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ / กิ่งอำเภอ และสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล (ซึ่งปัจจุบัน (ปี พ.ศ.2544) มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารให้กับสำนักทะเบียนอำเภอ / เทศบาลแล้ว จำนวน 505 แห่ง) โดยมีการแบ่งการให้บริการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

                       3.1 กลุ่มสำนักทะเบียนที่ให้บริการอัตโนมัติ ได้ทั้งระบบทะเบียนราษฎร และระบบบัตรประชาชน ซึ่งได้แก่สำนักทะเบียนทุกแห่งที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 9 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครปฐม สุราษฎร์ธานี และสงขลา รวมกับอำเภอเมืองปทุมธานี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 211 สำนักทะเบียน

    3.2 กลุ่มสำนักทะเบียนที่ให้บริการอัตโนมัติ ได้เฉพาะระบบทะเบียนราษฎรเท่านั้น (ระบบบัตรประจำตัวประชาชน เป็นระบบ ให้บริการแบบเก่า) ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอ / เทศบาล ที่ถูกกำหนดเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 294 สำนักทะเบียนในเขตพื้นที่ 67 จังหวัดทั่วประเทศ โดยในส่วนของ การให้บริการระบบทะเบียนราษฎร และบัตรแบบอัตโนมัตินั้น สามารถแบ่งออกเป็น

    1. การบริการรับแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้า-ออก แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการบ้าน ขอปลูกสร้าง/รื้อถอนบ้าน และการขอทำบัตรประจำตัวประชาชน

    2. การบริการตรวจสอบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (รวมทั้งทะเบียนสมรส – หย่าทะเบียนชื่อสกุล ทะเบียนอาวุธปืน) และทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน

    3. การบริการประชาชนที่มาขอรับบริการทะเบียนราษฎรนอกภูมิลำเนา รวมทั้งการให้บริการบัตรประจำตัวประชาชนอัตโนมัติ (รับบัตรประจำตัวประชาชนได้ในทันทีที่ไปขอทำบัตร) สำหรับประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 9 จังหวัด (ในข้อ 3.1)

      การนำ E-Registration มาเสริมบทบาท E-Government   บทสรุป   สารบัญ