การรับรองบุตร


จดทะเบียนรับรองบุตร

การจดทะเบียนรับรองบุตร ปฏิบัติได้ 3 วิธี คือ               (เสียงบรรยายประกอบ)

* การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน
* การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน
* การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

หนังสือแสดงความยินยอมของบุตรการรับบุตรบุญธรรม
หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร

ขั้นตอนในการติดต่อ

* บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต
* เด็กและมารดาเด็ก ต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความ ยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น
การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

การจดทะเบียนรับรองบุตร

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

1.การรับเรื่อง

- ผู้ร้องขอจดทะเบียนยื่นคำร้องขอตามแบบ คร.1
* กฎกระทรวงฯ พ.ศ 2478 (ข้อ 3)
* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 6,8 ผู้รับผิดชอบ "เจ้าหน้าที่"

2. การตรวจสอบหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.1 บัตรประจำตัวประชาชน
2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
2.3 เด็กและมารดาเด็กให้ความยินยอมหรือไม่คัดค้านด้วยตนเอง
2.4 หนังสือให้ความยินยอมในการจดทะเบียน (กรณีเด็กหรือมารดาเด็ก ไม่ได้มาให้ความยินยอมด้วยตนเอง)
2.5 คำพิพากษาของศาล (กรณีศาลมีคำพิพากษา)
* ป.พ.พ. ม.1548
* ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 8,23(1),24(2)(3)(4),25
* นส.ที่ มท 0302/ว1674 ลว.22 ก.ค.35
* ผู้รับผิดชอบ "เจ้าหน้าที่"

3.ตรวจสอบคุณสมบัติ

3.1 ผู้ร้องขอจดทะเบียนเด็กและมารดาเด็กแสดงความยินยอมไม่คัดค้าน ในการร้องขอจดทะเบียน
3.2 ถ้าเด็กและมารดาเด็กไม่คัดค้าน หรือไม่ให้ความยินยอม ภายใน 60 วัน หรือ 180 วัน กรณีเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทย นับแต่วันแจ้ง ต้องมีคำพิพากษาของศาล
3.3 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลซึ่งถึงที่สุด ซึ่งผู้ขอนำมาแสดงต่อนายทะเบียน
* ป.พ.พ.ม.1548,1549
* พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว ม.19
* ผู้รับผิดชอบ "เจ้าหน้าที่"

4. ตรวจสอบและปรับข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมาย

- ตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็นไปตามกฎหมายกำหนดหรือไม่
* นส. ที่ มท 0302/ว727 ลว.24 มค.36 * ผู้รับผิดชอบ "เจ้าหน้าที่"

5.เสนอความเห็นตามลำดับชั้น

* เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือปลัดอำเภอ

6.ผู้มีอำนาจในการจดทะเบียน

- นายทะเบียน (นายอำเภอ/ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต /ผู้รักษาราชการแทน
* กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2499)
* ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"

7. การปฏิบัติหลังจากได้รับการจดทะเบียนหรืออนุมัติ

7.1 กรณีได้รับการจดทะเบียน
- นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนให้พร้อมกับบันทึกตามที่ผู้ร้องขอประสงค์ ให้ลงบันทึกในทะเบียนตามแบบ คร.11
- ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
7.2 กรณีไม่ได้รับการจดทะเบียน
- แจ้งให้ผู้ร้องขอทราบถึงสาเหตุแห่งการได้รับจดทะเบียน
* ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 7,9,10,11,12,23,25
* ผู้รับผิดชอบ "นายทะเบียน"


การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม


การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม               (เสียงบรรยายประกอบ)

หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
- บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
- กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรมก็ได้
- กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว
4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ
- คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้
- คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น

ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ)
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต แห่งใดก็ได้
- ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )
- ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์ อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชาสงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอ ต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจาก บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
- ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์หรือ องค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม
- เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุธรรม ยื่นคำร้องขอ จดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
- เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย

ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

- ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรม ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
- ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมและถือว่าบุตรบุญธรรมเป็น ผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายนับแต่วันจดทะเบียน
- บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียนแต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดาและ บุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

- บัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสืออนุมัติจากคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ( กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ )


การขอจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม


การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

1. จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย
2. จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล

ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนขอเลิกรับบุตรบุญธรรม

(กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ)
1. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
(กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว)
- ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม ตกลงยินยอมเลิกเป็นบุตรบุญธรรม โดยยื่นคำร้องขอ จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขต ให้นายทะเบียน จดทะเบียนให้

(กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
- ผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขต
- บิดาและมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบธรรม ต้องมาให้ความยินยอม
- บุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามให้ความยินยอม
2. การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล กรณีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ฝ่ายที่ต้องการ เลิกอาจไปฟ้องร้องต่อศาลให้ศาลสั่งเลิกได้ แต่ต้องมีเหตุผลที่สมควร

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม



วิธีการทำให้บุตรเป็นที่ชอบด้วยกฏหมาย               (เสียงบรรยายประกอบ)

สิทธิตามกฏหมายของเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม                (เสียงบรรยายประกอบ)