วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน
                                        วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน
 
                  "บัตรประจำตัวประชาชน" เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเพื่อใช้พิสูจน์ทราบและยืนยันตัวบุคคลนับ
      ได้ว่าเป็นเอกสารที่มี เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการสมัครงาน การติดต่อธุรกิจการค้า การทำนิติกรรมสัญญา และการติดต่อประสานงาน
      กับส่วนราชการหรือภาคเอกชน นอกจากนั้นยังเป็น หลักฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ  ใช้ตรวจสอบบุคคลเพื่อประกอบการออกหนังสือสำคัญ
      ต่าง ๆ   เฉพาะด้าน เช่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง หรือแม้แต่บัตรเครดิตประเภทต่างๆ ที่
      นิยมใช้กันในวงการของสถาบันการเงิน  และการธนาคาร ซึ่งหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว  ความยุ่งยากสับสนในการยืนยันตัว
      บุคคลย่อมเกิดขึ้น   อีกทั้งจะส่งผลทำให้การติดต่อดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ไม่อาจดำเนินการไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว

                             
"หนังสือ เดินทางสำหรับราษฎร": ต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชน

                     หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่าคนไทยเริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคลปรากฎ อยู่ใน พระราชบัญญัติ
       ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยในมาตรา 90 บัญญัติว่า


                        "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้นจะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น"

                   วัตถุประสงค์ ของการออกหนังสือเดินทางรับรองราษฎรดังกล่าว  เพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยตรง เพราะการมีหนังสือเดินทาง
       ของทางราชการไว้แสดงตัวบุคคลว่า  ตัวเขาเป็นใคร มาจากแห่งหนตำบลใด   ย่อมทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความ
       สะดวก   และหากเจ้าหน้าที่เกิดความสงสัยขอตรวจค้นตัว   ก็สามารถใช้หนังสือเดินทางที่ออกให้ เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้ว่า
       เป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรองแล้ว ไม่ได้เป็นพวกมิจฉาชีพหรือพวกโจรแต่อย่างใด หนังสือดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
       ในสมัยนั้น และเหมาะสมกับสภาพการเวลาของสังคมเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้วความสำคัญของหนังสือเดินทางตามกฎหมาย ลักษณะ
       ปกครองท้องที่ จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของ
       บัตรประจำตัวประชาชน มีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร เพื่อใช้เดินทางไปท้องที่ที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันโดยมีกรมการ
       อำเภอ (หรือนายอำเภอปัจจุบัน) เป็นพนักงานทำ หนังสือดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486 : กฎหมาย
       ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกของไทย ผลของการออกหนังสือ เดินทาง สำหรับราษฎรตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่
       พ.ศ.2457    ทำให้ทางราชการเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำเอกสารเป็นหลักฐาน เพื่อแสดงว่าใครคือใคร อยู่ที่ไหน รูปพรรณเป็นอย่างไร
       เพื่อประโยชน์ในการปกครองท้องที่และการควบคุมราษฏรของทางราชการ รวมทั้งประชาชนก็จะได้ประโยชน์ในการติดต่อซึ่งกัน และกัน
       โดยเฉพาะการทำมาค้าขาย ดังนั้นในปี พ.ศ. 2486 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 รัฐบาลโดยการนำ
        ของ จอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอออกกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก
        เรียกว่า 
"พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486"   นับเป็นกฏหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัว
        ประชาชนให้แก่คนไทย แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะ ราษฎรในจังหวัดสองจังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี
        (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) บัตรประจำตัวประชาชนมีทั้งหมด 5 รุ่น( ตุลาคม 2556)


                                   บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 1
                                    บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 2 
                                    บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 
                                    บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 4
                                    บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 5