วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน
                                        บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 2
 

                  บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่2:
  ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองโดยเฉพาะความเจริญของภูมิภาคส่งผลให้ราชการ
      และประชาชนคนไทยต้องปรับตัวและปรับวิถีทางของความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นการติดต่อทาง
      สังคมและเศรษฐกิจของประชาชนก็เปิดกว้างขวางขึ้นบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 1 มีจุดอ่อนในด้านการพกพา ทั้งนี้เนื่องจากมี
      ลักษณะใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความไม่สะดวก ต่อผู้ใช้ที่จะต้องนำพกพาติดตัวไปด้วยเสมอ  ประกอบกับลักษณะของบัตร
      หลักการและวิธีการทางกฎหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัยรัฐบาลในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็น
      นายกรัฐมนตรี  จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและให้
      สามารถบังคับใช้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ
                  ในที่สุดจึงได้ออก   "พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505"  ซึ่งให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เป็นต้นมา
      โดยการออกบัตรจะมี  "กรมการปกครอง" เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ สาระสำคัญ
      ที่แตกต่างไปฉบับปี พ.ศ. 2486 มีหลายประการ      อาทิ เช่น กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
      อายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ 6 ปี กำหนด  ค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตร ไว้ฉบับ
      ละ 5 บาท และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน

                 
ลักษณะของบัตร รุ่นที่2
                  -  เป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เซ็นติเมตร ยาว 9 เซ็นติเมตร
                  -  ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑ อยู่ตรงกลาง มีข้อความ  "สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย"
                     วันที่ออกบัตรและวันบัตรหมดอายุ
                  -  ด้านหลังจะเป็นรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย รูปถ่าย ที่มีเส้นบอกส่วนสูง เป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีเลขและตัวอักษร
                     แสดงถึงอำเภอที่ออกบัตรและเลขทะเบียนบัตรและตราประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตรปรากฎอยู่ทางด้านซ้าย
                     ส่วนด้านขวาจะมีชื่อตัวชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร

                                                                     
                                                                                     คลิกที่รูปเพื่อขยาย
                  บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สองนี้เป็นบัตรรูปขาว-ดำ รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาคนไทยได้ทำ
      บัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2506 จนถึงสิ้นปี 2530 รวม 24 ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า 100ล้านบัตรจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายของคนไทย
      ในช่วง ระหว่างปีดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526  พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505
      ใช้บังคับได้ประมาณ 21 ปีพบจุดอ่อนหลายประการข้อสำคัญคืออายุของผู้ที่จะต้องมีบัตรที่กำหนดไว้ 17ปีบริบูรณ์ ไม่สัมพันธ์
      กับกฎหมายคุ้มครองแรงงานประกอบกับกฎหมายฉบับนี้กำหนดการให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ขอยื่น
      คำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จะมายื่นทำบัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่1มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัญหาทาง
      ข้อกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง ในสมัยรัฐบาลที่มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายก
      รัฐมนตรีจึงได้ยกเลิก พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน  พ.ศ. 2505 และตรา "พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526" ขึ้นใช้
      บังคับแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526
                  กฎหมายฉบับนี้ มีข้อเด่นในเรื่องการปรับปรุงจุดอ่อนของกฎหมายฉบับก่อน ได้แก่ การลดอายุของผู้ที่จะต้องขอมีบัตร
      จาก 17 ปีบริบูรณ์ เป็น15ปีบริบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานการนับอายุผู้ขอมีบัตร15ปีบริบูรณ์ให้นับชนวัน
      เดือนปีเกิดของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการนับอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ได้ขยายระยะเวลาการขอมี
      บัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 60 วัน เป็น 90 วัน กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตร มีอายุครบ70ปีบริบูรณ์ สามารถ
     ใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตรและบทลงโทษเพิ่มขึ้น และไม่เก็บค่าธรรมเนียมใน
      การขอมีบัตรครั้งแรกหรือขอมีบัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้มิได้ส่งผล
     ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะของบัตรประจำตัวประชาชนแต่อย่างใด ลักษณะของบัตรยังคงเหมือนเดิมทุกประการ