( แผนที่แสดงสถานที่ประสูติ ปรินิพาน และตรัสรู้ )
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ( พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีซึ่งพระพุทธ
เสด็จเข้าสู่ปรินิพาน) นับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งมีผู้นับถือหลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ
ต่าง ๆ ทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า ซี่งเป็นโอรสของ
พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งเวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
ในสมัยที่พระองค์ยังไม่ได้ออกบวช มีพระนามว่าสิทธัตถะ ในขณะที่ยังทรงเป็นเด็กอยู่ก็ทรงศีกษาศิลปวิทยาการ
ในสำนักต่าง ๆ หลายสำนักด้วยกันจนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาการต่าง ๆ หลายสาขา
เมื่อพระสิทธัตถะมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราและมีโอรสองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายราหุล ชีวิตในฆราวาสวิสัยของ พระองค์มีแต่ความสมหวัง ไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาก็ทรงเบื่อหน่ายโลก เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลกและทรงหวังจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงได้ทรงสละ
ความสุขนานาประการ สละลูกเมีย ญาติพี่น้อง และมิตรสหายออกบวช เพื่อหาทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ทรงผนวชอยู่จนกระทั่งมีพระชนม์ได้ ๓๕ พรรษา จึงได้ตรัสรู้คือรู้แจ้งในความจริงแห่งโลก เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เสด็จเที่ยวแนะนำสั่งสอนประชาชนในแคว้นต่าง ๆ
ในอินเดียเพื่อหาทางที่จะนำประชาชน ไปสู่ความพ้นทุกข์อยู่เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ปรากฎว่าประชาชน
ชาวอินเดีย ในสมัยนั้นได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอยู่จนกระทั่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา จึงปรินิพพาน
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ก็ยังช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏาลีบุตร่วมกับคณะสงฆ์ได้ส่งพระสงฆ์ออกประกาศพระพุทธศาสนา
ทั้งภายในและภายนอกประเทศอินเดีย คณะสงฆ์สายหนึ่งได้เข้ามายังสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขต
ประเทศพม่าและไทยในปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนนี้ ตามลำดับ จนกระทั่งถึงสมัย สุโขทัยเป็นราชธานี
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติเรื่อยมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ แม้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรง นับถือพระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็พระราชทานความอุปถัมภ์แก่ศาสนาอื่น ๆ ในเมืองไทยด้วยเช่นกัน