โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบูรณาการและปฏิรูประบบการทะเบียนแห่งชาติ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
 1. องค์ประกอบของคณะกรรมการ
  1.1 นายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการ
  1.2 รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
รองประธานกรรมการ
  1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
  1.4 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ
  1.5 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
  1.6 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
  1.7 ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
  1.8 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
  1.9 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
  1.10 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
  1.11 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
  1.12 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
  1.13 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
  1.14 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
  1.15 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
  1.16 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
  1.17 เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กรรมการ
  1.18 เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรรมการ
  1.19 เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
  1.20 อัยการสูงสุด กรรมการ
  1.21 นายเกียรติศักดิ์ เสนไสย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการทะเบียน กรรมการ
  1.22 นายประกิต กันยาบาล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการทะเบียน กรรมการ
  1.23 นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการ
  1.24 นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย กรรมการ
  1.25 อธิบดีกรมการปกครอง กรรมการและเลขานุการ
  1.26 ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  1.27 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารงานทะเบียน  สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  1.28 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูล
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  โดยให้สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการดังกล่าว
 เพื่อปฏิบัติงานด้านธุรการของคณะกรรมการบูรณาการและปฏิรูประบบการทะเบียนแห่งชาติ
 
 2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
  2.1 กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำและพัฒนาระบบการทะเบียนแห่งชาติ
  2.2 เร่งรัดและสนับสนุนการจัดทำระบบการทะเบียนเพื่อการบริการประชาชนของหน่วยงานต่าง ๆ
  2.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานหรือโครงการทะเบียนของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการจัดตั้งงบประมาณ
  2.4 กำหนดแนวทางในการจัดทำทะเบียนของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
  2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ซึ่งควรมีคณะอนุกรรมการ ด้านต่าง ๆ ดังนี้
 
1) คณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานทะเบียนแห่งชาติ
 
 
2) คณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการทะเบียนแห่งชาติ
 
3) คณะอนุกรรมการด้านคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและปราบปรามการทุจริตทางด้าน การทะเบียนแห่งชาติ
 
4) คณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์การทะเบียนแห่งชาติ
     
หมายเหตุ
เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้แต่งตั้งและปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการบูรณาการและปฏิรูประบบการทะเบียนแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 วันที่ 11 กันยายน 2550 และวันที่ 3 มิถุนายน 2551